top of page

สุขภาพดูแลได้ด้วยเมนูง่ายๆ สำหรับคุณ

อีกทางเลือกการดูแลตัวเอง

วิธีการดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงนั้น นอกจากการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอแล้ว การรู้จักเลือกรับประทานอาหารสุขภาพและอาหารที่มีประโยชน์ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุขภาพดีได้ การยึดอาหารหลัก 5 หมู่ และเพิ่มความสำคัญของการกินอาหารแต่ละหมู่ให้มีความหลากหลาย ไม่จำเจอยู่เพียงอาหารไม่กี่ชนิด เพราะอาหารบางชนิดก็เป็นยาดีของสุขภาพร่างกาย ที่ทำให้เรามีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และยังช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย

อาหารเพื่อสุขภาพ หรืออาหารคลีน ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่ใส่ใจสุขภาพหรือสายเฮลตี้ สร้างความสมดุลในร่างกาย เพียงแค่เรารู้จักเลือกสรรอาหาร และนำไปปรุงให้ถูกวิธี อาหารเพื่อสุขภาพเหล่านี้ก็จะกลายเป็นมื้อที่อร่อยได้ 

Screenshot 2023-09-10 223837.png

อาหารคลีนคืออะไร

อาหารคลีน (Clean Food) คือ อาหารทีไม่ผ่านการปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่าง ๆ หรือผ่านการแปร รูปน้อยทีสุด อาหารเหล่านี จะเป็ นอาหารทีสดสะอาด ผ่านขั นตอนการปรุงแต่งมาน้อยหรือไม่ผ่านการปรุง แต่งเลย เน้นธรรมชาติของอาหารนั นเป็ นหลัก ไม่ผ่านกระบวนการหมักดองหรือปรุงรสใด ๆ มากจนเกินไป เช่น เค็มจัด หวานจัด หรือ มัน เป็ นต้น อย่างไรก็ตามในบางครั งการปรุงแต่งอาหารทีถูกต้องเหมาะสม เช่น สุกพอดี ไม่ใส่เครืองปรุงมากเกินไป ก็ไม่ได้เป็ นภัยอัตรายต่อร่างกายเช่นกัน

การรับประทานอาหารแบบคลีน คือ การรับประทานอาหาร 5 หม่ ในสัดส่วนทีเหมาะสม ู คือต้องมีทังคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ผัก ผลไม้ และไขมัน ในปริมาณทีเพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกาย ไม่ใช่การเน้นรับประทานทานผักเยอะ ๆ แต่เพียงอย่างเดียว

 

โดยสรุปอาหารคลีนเป็ นอาหารทีถูกหลักโภชนาการประเภทหนึง ซึงมีสรรพคุณทีดีสําหรับคนทีอ้วน เนืองจากไม่ผ่านการปรุงแต่งเติมไขมัน ความหวาน ความเค็ม เพราะอาหารคลีนส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบทีคง เดิมจากธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งสังเคราะห์ หรือหากจะมีการปรุงแต่งก็มีการปรุงแต่งทีน้อยถึงน้อย ทีสุด ซึ่งจะมีผลดีต่อคนทีต้องการลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ลดไขมัน และคนทีใส่ใจกับสุขภาพของตนเอง

ขั้นตอนการเริ่มรับประทานอาหารคลีน

ในการเริ่มรับประทานอาหารคลีน

1. ดื่มนํ าสะอาด แทนการดื่มเครืองดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม

2. ค่อย ๆ ลดอาหารหมัก ดอง กึ่งสําเร็จรูป และรับประทานอาหารที่สดใหม่แทน

3. เปลี่ยนรสชาติอาหาร สําหรับผู้ที่รับประทานอาหารรสจัดให้ลองค่อยๆลดปริมาณเครืองปรุง

4. รับประทานผัก ผลไม้ให้มากขึ้น

5. อ่านฉลากทุกครั้ง เพือเปรียบเทียบในการเลือกอาหาร โดยเลือกที่มีส่วนผสมน้อยที่สุด ผ่าน กรรมวิธีน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงกลิ่น สี รส ปรุงแต่ง หรือพวกที่มีปริมาณโซเดียมมาก

ความสำคัญของการดูแลสุขภาพ

การที่เราอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขนั้นต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เช่น การมีสมรรถภาพดี อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ตามปกติ มีบุคลิกภาพที่ดี มองโลกในแง่ดี คิดในทางบวก มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มีเพื่อน ญาติพี่น้องที่รักใคร เอื้ออาทรต่อกัน ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งสามารถทำได้โดยทุกคนจะต้องดูแลรักษาและพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงเพื่อนในโรงเรียนและในชุมชน โดยแต่ละบุคคลนั้นต้องมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้ดี การดูแลสุขภาพของตนเองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคนเพราะการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างและจิตใจ เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำด้วยตัวเอง คนอื่นมาทำให้ไม่ได้ และสุขภาพดีไม่มีขายหากใครอยากได้ก็ต้องปฏิบัติด้วยตัวเอง

Screenshot 2023-09-10 233740.png

การดูแลสุขภาพจะทำให้เกิดประโยชน์

Screenshot 2023-09-14 231224.png

1.ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายมีสภาพสมบูรณ์และเป็นปกติ ทรุดโทรมช้า

2.ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ และมีประสิทธิภาพ

3.ทำให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

4.ทำให้ฟื้นจากความเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นคนที่ร่าเริงแจ่มใส มีอารมณ์ดีและมองโลกในแง่ดี

5.ทำให้อายุยืนยาว ทำให้เป็นผู้ที่มีพลังในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

6.ทำให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าของสังคม
วิธีการวางแผนดูแลสุขภาพ

การวางแผนการดูแลสุขภาพ อวัยวะต่างๆของร่างกายคนเราล้วนมีหน้าที่สำคัญและทำงานประสานสอดคล้องกันอยู่ตลอดเวลา หากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งชำรุดหรือไม่อาจทำหน้าที่ได้ก็จะส่งผลกระทบกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้วย

เราจึงควรที่จะดูแลรักษาให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและความทุพลภาพต่างๆ ซึ่งก็คือการดูแลรักษาสุขภาพของเรานั่นเอง การดูแลรักษาสุขภาพนี้ ทำได้ดังนี้

1. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ มีความสะอาดและสารอาหารสมบูรณ์ ครบถ้วนและเหมาะสมกับวัย

2. การออกกำลังกาย ควรจัดระยะเวลาออกกำลังกายแต่ละวันเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 30 นาที และใช้วิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายแต่ละวัย

3. การพักผ่อน ควรพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวันในสถานที่ที่ถูกสุขลักษณะ

4. การตรวจสุขภาพ ควรวางแผนตรวจสุขภาพตามระยะที่เหมาะสม เช่น การตรวจฟัน ทุกๆ 6 เดือน เป็นต้น ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 40 ปี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพทั่วไปอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ทราบสุขภาพของร่างกายและสามารถดูแลรักษาส่วนที่บกพร่องอย่างทันท่วงที

5 อาหารเพื่อสุขภาพ เมนูทางเลือกเอาใจคนรักสุขภาพ

Screenshot 2023-09-15 140008.png
Screenshot 2023-09-15 140025.png
Screenshot 2023-09-15 140050.png
Screenshot 2023-09-15 140104.png
Screenshot 2023-09-15 140500.png

1. ควีนัว
ใครที่เป็นสายกินคลีน หรือรักสุขภาพ ต้องรู้จักกับธัญพืชที่ชื่อว่า “ควินัว อย่างแน่นอน เป็นพืชตระกูลเดียวกับหัวบีท ผักโขม มีประโยชน์มากมายจนได้ชื่อว่าเป็น “ซูเปอร์ฟู้ด” เพราะถือเป็นแหล่งเส้นใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพชั้นดี
ประโยชน์ของควินัว
• ควินัว 1 ถ้วยจะมีปริมาณเส้นใยอาหารประมาณ 5 กรัม เป็นเส้นใยชนิดไม่ละลายน้ำที่จำเป็นต่อระบบการย่อยอาหารในร่างกาย
• ควินัวเป็นพืชที่มีคอเลสเตอรอลต่ำ จึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมอาหาร รวมไปถึงเหมาะเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

2. ถั่วอัลมอนด์
เป็นถั่วที่มีคุณค่าทางสารอาหาร และมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูงกว่าถั่วชนิดอื่น ๆ สามารถนำมารับประทานแทนอาหารมื้อหลัก หรือรับประทานแทนขนมกินเล่นก็ได้
ประโยชน์ของอัลมอนด์
• อัลมอนด์มีประโยชน์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย รับประทานเป็นอาหารว่างจะช่วยลดการกินจุกกินจิกและลดดความหิวระหว่างมื้ออาหาร
• เมื่อรับประทานอัลมอนด์เป็นประจำทุกวันจะช่วยลดน้ำหนักได้ เพราะในอัลมอนด์ 1 เมล็ดนั้นให้พลังงานเพียงแค่ 7 แคลลอรีเท่านั้น

 

3. ปลาแซลมอน
จัดเป็นปลาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดทั้งในหมู่ คนไทยและชาวญี่ปุ่น นิยมนำมาทำทั้งซูชิและซาชิมิ เพราะนอกจากจะมีรสชาติที่ถูกปากแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ประโยชน์ของปลาแซลมอน
• ปลาแซลมอนเป็นโปรตีนที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่าย
• โอเมก้า3 ในปลาแซลมอนจะช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL)

4. อกไก่
อกไก่ถือเป็นของโปรดของสายเฮลตี้เลย เพราะ เนื้อไก่เป็นเนื้อสัตว์ที่ให้พลังงานสูงชนิดหนึ่ง อุดมไปด้วยโปรตีน ย่อยง่าย มีสัดส่วนไขมันต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อส่วนอกนั้นแทบไม่มีไขมันปนอยู่เลย จึงนิยมทำมาปรุงอาหารสำหรับดูแลสุขภาพจำพวกอาหารคลีน อกไก่เหมาะสำหรับปรุงอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักไม่ว่าจะเป็น สเต็กไก่ โดยการนำไปหมักและย่าง ทานคู่กับผักเครื่องเคียงต่างๆก็อร่อยแบบสุดๆ นับว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ให้พลังงานสูง และอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย
ประโยชน์ของอกไก่
• อกไก่ให้โปรตีนสูงแต่พลังงานต่ำ
• โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยซ่อมแซมอวัยวะส่วนที่สึกเหรอในร่างกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

5. ไข่ไก่
การรับประทานไข่ไก่เป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหารจะช่วยให้อิ่มยาวนานขึ้น และรับประทานอาหารได้น้อยลง
ประโยชน์ของไข่ไก่
• ไข่ไก่เป็นหนึ่งในอาหารโปรตีนสูง ใน 1 ฟองจะมีโปรตีน 6 กรัม
• ไข่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ซึ่งผู้ที่ต้องการมีกล้ามเนื้อทั้งหลายต่างเลือกรับประทาน เพราะเชื่อว่าจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดี เนื่องจากโปรตีนมีส่วนช่วยในการเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

อาหารเพื่อสุขภาพ เปลี่ยนจากอาหารทั่วไป มาเป็นอาหารทางเลือก

1. โปรตีนจากพืช (Plant-based Meats)

ปกติแล้วโปรตีนนั้นเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนรักสุขภาพ โดยเฉพาะโปรตีนที่มีไขมันน้อย เนื่องจากให้พลังงานสูง ไขมันต่ำ ช่วยให้อิ่มเร็วและนานขึ้น จึงช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี ตัวอย่างของอาหารจำพวกโปรตีน เช่น อกไก่ เนื้อหมูสันใน หรือเนื้อวัว อาจทานในรูปแบบสเต๊ก หรือเอามาทำอาหารในรูปแบบอื่นๆ ได้เช่นกัน

 

เนื้อสัตว์จากพืช หรือ Plant-based meat คืออะไร 

ในปัจจุบันนั้น มีตัวเลือกของอาหารมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือเนื้อสัตว์จากพืช หรือ Plant-based meat ที่นอกจากให้ผลลัพธ์เชิงบวกในด้านสุขภาพแล้ว ยังช่วยส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย เนื้อสัตว์จากพืชนั้นทำมาจากพืชประมาณ 95% โดยหลักแล้วเป็นวัตถุดิบจำพวกถั่วและบีทรูท

นอกจากนั้นคืออาหารจำพวกเห็ด สาหร่าย เครื่องเทศและอื่นๆ แล้วนำมาแปรรูปให้มีรสชาติและผิวสัมผัสใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์มากที่สุด โปรตีนจากพืชถือเป็นโปรตีนทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์แต่ยังอยากได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนอยู่ สามารถรับประทานโปรตีนจากพืชโดยนำมาประกอบอาหารได้เสมือนเนื้อสัตว์จริง เช่น เนื้อบด/หมูบดจากพืช หมูกรอบจากพืช หรือแม้แต่เนื้อเบอร์เกอร์ เป็นต้น

ประกอบกับการใช้น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันคาโนล่า น้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำมันมะกอก ในการประกอบอาหาร ทำให้ได้เนื้อสัมผัส รสชาติ และความอร่อยที่ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จริงๆ

 

นอกจากจะเหมาะกับคนรักสุขภาพแล้ว ยังเหมาะกับผู้ป่วยหรือผู้ที่กำลังฟื้นฟูร่างกายด้วยเช่นกัน เนื่องจากทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนอย่างเต็มที่และสามารถเพิ่มสมรรถนะของร่างกายได้ อีกทั้งยังไม่มีคลอเรสเตอรอล จึงเหมาะกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคหัวใจ โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หรือโรคอ้วนได้ รวมถึงยังเหมาะกับผู้ที่ออกกำลังกายและต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อเนื่องจากได้รับโปรตีนสูงและไขมันต่ำกว่าการรับประทานเนื้อสัตว์จริงๆ

Screenshot 2023-09-10 232756.png

2. ขนมหวานและเบเกอรี่ เพื่อสุขภาพ

ขนมหวานและเบเกอรี่อย่าง เค้ก คุกกี้ โดนัท นั้นให้พลังงานสูง เค้กสตรอเบอร์รี่ครีมสด 1 ชิ้น ให้พลังงานสูงถึง 420 กิโลแคลอรี่ หากกินหนึ่งก้อน ต้องวิ่งเหยาะๆ ราว 7 กิโลเมตร (ค่าที่ได้อาจแตกต่างกันไปตามความเร็วในการวิ่งหรือน้ำหนักตัว) แต่ถ้าเราสามารถเปลี่ยนจากเค้กแบบเดิมๆ ที่เน้นนมเนยเป็นหลัก มาเป็นเค้กรูปแบบอื่น เช่น เค้กไร้แป้ง หรือเค้กคีโต น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากมีคุณประโยชน์มากกว่า ถึงจะมีพลังงานเท่าๆ กันแต่ก็ไม่ได้เป็นอาหารที่ให้พลังงานว่างเปล่า หรือ empty calories และยังอยู่ท้องมากกว่าเนื่องจากทำมาจากวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำจึงช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เช่น แป้งข้าวโอ๊ต แป้งมะพร้าว แป้งอัลมอนด์ น้ำตาลอิริทริทอล น้ำตาลหล่อฮั่งก๊วย หรือแม้กระทั่งพืชหัวอย่างฟักทอง จึงสามารถนำไปปรับใช้ในการควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย  

  • ขนมคีโต ทางเลือกสำหรับคนกินคีโต 
    ยกตัวอย่างขนมคีโต เช่น คุ้กกี้ที่ทำจากถั่วลูกไก่ ซึ่งให้โปรตีนและเส้นใยไฟเบอร์สูง ขนมปังคีโตที่ทำจากแป้งอัลมอนด์และใส่ไซเลียมฮัสค์เพิ่งกากใยในระบบทางเดินอาหาร บราวนี่ฟักทองไร้แป้ง โลฟเค้กกล้วยช็อกที่ทำจากแป้งอัลมอนด์กับผงคาเคา เป็นต้น 

  • แป้งกลูเตนฟรี ทางเลือกสำหรับคนแพ้กลูเตน 
    ในกรณีที่แพ้กลูเตน จะไม่สามารถรับประทานอาหารที่ทำจากแป้งสาลีได้ แต่ยังสามารถรับประทานขนมที่ทำจากแป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ แป้งอัลมอนด์ แป้งมะพร้าว แป้งถั่วลูกไก่ แป้งมันสำปะหลัง หรือโรลโอ๊ตได้ ซึ่งแป้งเหล่านี้สามารถนำมาทำขนมได้หลากหลายรูปแบบ ถึงแม้ว่าเนื้อสัมผัสอาจจะไม่ได้เหมือนกับการใช้แป้งสาลีมากนัก แต่ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทั้งอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเช่นกัน

Screenshot 2023-09-15 140132.png

3. เครื่องดื่ม 0 แคล และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

เครื่องดื่มทั่วๆ ไป เช่น น้ำพันช์ อาจต้องปรับสูตรในการปรุงเล็กน้อย เช่น เปลี่ยนมาใช้หญ้าหวานหรือสารทดแทนความหวานประเภทอื่นที่ให้พลังงานต่ำ แทนการใช้ไซรัปในการปรุงน้ำหวานเหล่านี้ 

หากเป็นน้ำอัดลม อาจเปลี่ยนเป็นแบบ zero calories แทน ก็จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานน้อยลงเช่นกัน หรือหากอยากดื่มน้ำอัดลมซ่าๆ อาจเลือกดื่มเป็นน้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ล 1 ช้อนชาผสมกับน้ำเปล่า 1-2 แก้ว แล้วเติมน้ำแข็งแทน นอกจากดับกระหาย ได้ความสดชื่น และคุมความอยากอาหารแล้ว ยังดีต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร และช่วยเรื่องการขับถ่ายได้อีกด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำ เป็นโรคเบาหวานหรือโรคกระดูกพรุน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์  การดื่มเบียร์ 1 แก้ว (425มล.) ให้พลังงานมากถึง 182 กิโลแคลอรี่ เท่ากับการรับประทานข้าวขาว 2 ทัพพีครึ่ง หากเปลี่ยนเป็น ไวน์ ซึ่งรวมถึงไวน์แดงและไวน์ขาวจะให้ประโยชน์มากกว่า เพราะไวน์มีประโยชน์ เช่น มีสารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์ ช่วยลดไขมันชนิดไม่ดี ช่วยป้องกันโรคหัวใจและมะเร็งได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม อะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี จึงควรดื่มไม่เกิน 1-2 แก้ว (150 มล.) ต่อวัน

Screenshot 2023-09-15 140209.png

4. ผลิตภัณฑ์จากนม สำหรับคนแพ้แลคโตส

สำหรับคนที่แพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัว สามารถดื่มนมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ หรือน้ำนมข้าวได้ โดยเลือกแบบที่หวานน้อยเพื่อสุขภาพที่ดี หรือบางท่านที่กำลังควบคุมน้ำหนักอาจอยากดื่มนมที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำแต่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการสูง ก็สามารถมองหาผลิตภัณฑ์นมจากวัตถุดิบอื่น เช่น นมอัลมอนด์ นมพิสตาชิโอ หรือหากรู้สึกมีความอยากน้ำหวานหรือน้ำชงต่างๆ ก็สามารถชงโกโก้ร้อนหรือเย็น โดยผสมผงโกโก้แท้ไม่มีน้ำตาลลงในนมเหล่านี้ได้ เท่านี้ก็สามารถดับกระหาย ได้กินของอร่อยและมีประโยชน์

จะเห็นว่า ปัจจุบันในท้องตลาดนั้น มีอาหารทางเลือกที่ดีและมีประโยชน์มากมาย เหนือสิ่งอื่นใด เราควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาดมากๆ และรับประทานอาหารแต่ละอย่างในปริมาณที่เหมาะสมและพอดี เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

Screenshot 2023-09-15 140240.png

โรคอันตราย

โรคอ้วนก็เป็นอีกโรคที่คนไทยนิยมเป็นกันมาก เพราะด้วยการบริโภคที่ง่ายขึ้น และการทำงาน หรือใช้ชีวิตแบบคนสมัยใหม่ที่ต้องทำงานตลอดเวลา จนไม่ได้ให้ความสนใจต่อการออกกำลังกาย หรือในรายที่เป็นโดยกำเนิด เพราะร่างกายเผาผลาญพลังงานได้น้อยกว่าคนปกติ และอาจจะเป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิดอีกด้วย โรคอ้วนนี้ยังเป็นสาเหตุต้น ๆ ของโรคเบาหวาน, ความดัน, ภาวะหยุดหายใจเฉียบพลัน และอีกหลาย ๆ โรคร้าย

เมื่อมีน้ำหนักที่เกินกว่าความสูงค่อนข้างมาก ลำตัวเริ่มหนา และมีอาการหายใจลำบาก นั่นคือสัญญาณว่าควรที่จะต้อง เริ่มลดความอ้วนแบบจริงจัง ก่อนที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอันตรายอื่น ๆ ตามมา ควรที่จะลดน้ำหนักให้ได้ 10% ภายใน 6 เดือน เพื่อไม่ให้อันตรายและหักโหมไป ตัวเลขนี้จึงถือว่าเหมาะสมแก่คนที่ต้องการลด, ดูแลอาหารการกินที่ต้องเพิ่มอาหารไขมันต่ำ ลดอาหารไขมันสูง เพิ่มผักและผลไม้, ลดการใช้ชีวิตแบบคนสมัยใหม่, ลดความเครียด แล้วหันมาออกกำลังกายให้บ่อยขึ้น และในรายที่มีอาการอ้วนมากเกินไป จนไม่สารถลดได้เอง แพทย์ก็อาจวินิจฉัยเพื่อทำการผ่าตัด ลดกระเพาะอาหารลงได้

 

ภัยเงียบที่ซ่อนตัว อยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดเพี้ยนไป อย่าได้ละเลยหรือคิดว่ายังมาไม่ถึง เพราะเราสามารถเป็นได้ทุกเมื่อที่เราไม่ดูแลตัวเองให้ดี และไม่ใส่ใจในสุขภาพ, อาหารการกิน หรือแม้แต่การเป็นอยู่ ที่ต้องสะอาดและถูกหลัก เพราะถ้าเราใส่ใจก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อ 10 โรคนี้ เพื่อที่จะได้เป็นแบบอย่างแก่ผู้ที่กำลังเป็น หรือเป็นแล้วให้ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องต่อไป ทั้งนี้ในคนที่เป็นแล้ว ก็ควรดูแลรักษาตัวเองให้ดี และหมั่นพบแพทย์อยู่ตลอดด้วยเช่นกัน

Screenshot 2023-09-15 141333.png

©2023 Powered and secured by Wix

  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • YouTube
  • TikTok
bottom of page